เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 6. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
แจ่มแจ้งแล้วรวมความว่า เพราะธรรมนั้นพระองค์ทรงทราบชัดแล้ว ด้วยเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
มุนีนั้นถึงความสลายไป หรือว่าไม่มี
หรือว่าไม่แตกทำลายเพราะมีความแน่แท้
พระองค์ผู้เป็นพระมุนี โปรดพยากรณ์ปัญหานั้น
แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
เพราะธรรมนั้นพระองค์ทรงทราบชัดแล้ว
[45] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ)
มุนีผู้ถึงความสลายไป ย่อมไม่มี(อะไร)เป็นประมาณ
ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าวมุนีนั้นด้วยกิเลสใด
กิเลสนั้นย่อมไม่มีแก่มุนีนั้น
(เพราะ) เมื่อมุนีนั้นถอนธรรมทั้งปวงได้เด็ดขาดแล้ว
แม้ครรลองแห่งวาทะทั้งปวง
ท่านก็ถอนได้เด็ดขาดแล้ว(เหมือนกัน) (8)
คำว่า มุนีผู้ถึงความสลายไปย่อมไม่มี(อะไร)เป็นประมาณ อธิบายว่า มุนี
ผู้ถึงความสลายไป คือ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมไม่มี
ประมาณ แห่งรูป ไม่มีประมาณแห่งเวทนา ไม่มีประมาณแห่งสัญญา ไม่มี
ประมาณแห่งสังขาร ไม่มีประมาณแห่งวิญญาณ คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้
ได้แก่ ท่านละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิด
ขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า มุนีผู้ถึงความสลายไป ย่อม
ไม่มี(อะไร)เป็นประมาณ
คำว่า อุปสีวะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
อุปสีวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :192 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 6. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าวมุนีนั้นด้วยกิเลสใด กิเลสนั้นย่อมไม่มีแก่
มุนีนั้น อธิบายว่า ชนทั้งหลายที่ว่ากล่าวมุนีนั้นด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ
อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัยใดว่า “เป็นผู้กำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง เป็นผู้หลง เป็นผู้ยึดติด
เป็นผู้ยึดมั่น เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ลังเล หรือเป็นผู้ตกอยู่ในพลังกิเลส” กิเลส
เครื่องปรุงแต่งเหล่านั้นท่านละได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่งได้แล้ว
ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าวท่านโดยคติด้วยเหตุใดว่า “เป็นผู้เกิดในนรก เป็นผู้เกิดใน
กำเนิดเดรัจฉาน เป็นผู้เกิดในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป
เป็นผู้มีสัญญา เป็นผู้ไม่มีสัญญา หรือ เป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่”
ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงด้วยกิเลสใด เหตุนั้นไม่มี
ปัจจัยไม่มี สาเหตุไม่มี รวมความว่า ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าวมุนีนั้นด้วยกิเลสใด
กิเลสนั้นย่อมไม่มีแก่มุนีนั้น
คำว่า (เพราะ) เมื่อมุนีนั้นถอนธรรมทั้งปวงได้เด็ดขาดแล้ว อธิบายว่า
เมื่อธรรมทั้งปวง คือ ขันธ์ทั้งปวง อายตนะทั้งปวง ธาตุทั้งปวง คติทั้งปวง อุปบัติ
(การถือกำเนิด) ทั้งปวง ปฏิสนธิทั้งปวง ภพทั้งปวง สงสารทั้งปวง วัฏฏะทั้งปวง
มุนีนั้นถอนแล้ว ถอนได้เด็ดขาดแล้ว ดึงขึ้น ดึงขึ้นได้เด็ดขาดแล้ว เพิกขึ้น เพิก
ขึ้นได้เด็ดขาดแล้ว ได้แก่ มุนีนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า (เพราะ)
เมื่อมุนีนั้นถอนธรรมทั้งปวงได้เด็ดขาดแล้ว
คำว่า แม้ครรลองแห่งวาทะทั้งปวง ท่านก็ถอนได้เด็ดขาดแล้ว อธิบายว่า
กิเลส ขันธ์ และอภิสังขารตรัสเรียกว่า ครรลองแห่งวาทะ วาทะ ครรลองแห่งวาทะ
ชื่อ ครรลองแห่งชื่อ ภาษา ครรลองแห่งภาษา บัญญัติและครรลองแห่งบัญญัติ
มุนีนั้นถอนแล้ว ถอนได้เด็ดขาดแล้ว คือ ดึงขึ้น ดึงขึ้นได้เด็ดขาดแล้ว เพิกขึ้น
เพิกขึ้นได้เด็ดขาดแล้ว ได้แก่ มุนีนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า แม้ครรลอง
แห่งวาทะทั้งปวง ท่านก็ถอนได้ได้เด็ดขาดแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :193 }